ว่านนางคำ

ว่านนางคำ

ข่าวดี......สมุนไพรต้านมะเร็ง


วิจัย..สมุนไพรต้านมะเร็ง ในรูปแบบของอาหาร ประจำวัน
มะเร็ง คือ โรคร้าย...ที่คร่าชีวิตมนุษย์ได้ทุกชนชั้น แม้ว่าจะไม่ฉับพลันเหมือนอุบัติเหตุ แต่มันก็ร้ายกว่าคือสร้างความเจ็บปวดและทุกข์ทรมาน..เพื่อบรรเทาต่อความเลวร้าย...คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จึงได้คิดค้นปัดฝุ่น เอาสมุนไพรไทยมาช่วยบำบัด คือทั้งให้เป็นโอสถสารและอาหารประจำวัน ทดแทนการบำบัดด้วยสารเคมีและการฉายรังสี รศ.พรทิพย์ เชื้อมโนชาญ รองคณบดีเครือข่ายวิชาการ คณะเภสัชศาสตร์ พูดถึงความเป็นมาว่า คณะเภสัชศาสตร์ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพ ของผู้ป่วยมะเร็ง ที่มีอาการข้างเคียงต่างๆจึงร่วมกับ มูลนิธิต่อต้านโรคมะเร็งภาคเหนือ คณะแพทยศาสตร์ จัดทำ “โครงการดูแลและให้ความรู้แก่ผู้ป่วยมะเร็งด้วยสมุนไพรไทย” ใน บ้านนันทราษฎร์ ซึ่งเป็นบ้านพักผู้ป่วยมะเร็ง โดยการทำสวนสมุนไพรในบริเวณบ้านพัก เพื่อเป็นแหล่งสมุนไพรให้ผู้ป่วยและญาติสามารถนำสมุนไพรไปใช้และให้ความรู้เกี่ยวกับ การลดอาการข้างเคียง กิจกรรมในการนำสมุนไพรมาใช้ในผู้ป่วยนั้น จักต้องให้ความรู้และความเข้าใจ แก่ผู้ป่วยและญาติไปพร้อมๆกัน จึงจะได้บรรลุผลตาม ผศ.ดร.สุนีย์ จันทร์สกาว จาก ศูนย์วิจัยสมุนไพรภาคเหนือ บอกว่า การดูแลสุขภาพ ผู้ป่วยด้วยสมุนไพรและผักพื้นบ้าน เป็นการสร้างความสำคัญ ให้ผู้ป่วยมีสุขภาพแข็งแรงขึ้น เพื่อเพิ่มภูมิต้านทานและชะลอการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งและ...สมุนไพรกับผักพื้นบ้านนั้น ต้องไม่ส่งผลรบกวนต่อการรักษาด้วยวิธีต่างๆ ที่ผู้ป่วยมะเร็งได้รับ ไม่ว่าจะเป็นเคมีบำบัด หรือการฉายรังสีซึ่งมีสมุนไพรหลายชนิดที่สามารถลดอาการข้างเคียงของผู้ป่วยมะเร็ง ที่สำคัญสมุนไพรและผักพื้นบ้านของไทยหลายชนิดให้ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระที่ดี จึงเหมาะที่จะนำมาดูแลสุขภาพในรูปแบบของอาหารสมุนไพรที่พบว่าให้ผลในการรักษาและมีความปลอดภัยสูง มีหลายชนิด เช่น กระชาย และ ขิง ที่มีองค์ประกอบสำคัญคือ Volatile oil ประมาณ 0.08-2% ใช้บรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ บรรเทาอาการคลื่นไส้ อาเจียน แก้ไอ ขับเสมหะ... บอระเพ็ด ใช้เพื่อรักษาอาการเบื่ออาหาร ไพล มีองค์ประกอบสำคัญ คือ Volatile oil, curcumin และมีสารในกลุ่ม phenylbutanoids ที่ให้ฤทธิ์ต้านการอักเสบ ใช้บรรเทาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อาการเคล็ดขัดยอกฟกช้ำ ฟ้าทะลายโจร ใช้รักษาอาการเบื่ออาหาร ข้อควรระวังในการใช้ คือ อาจเกิดอาการปวดท้อง ปวดเอว เวียนหัว ซึ่งนั่นแสดงว่าเกิดอาการ แพ้ยา...ควรหยุดยา โดยเปลี่ยนไปใช้ยาอื่น และไม่ควรรับประทานติดต่อกันนาน เพราะเป็นยาเย็น จะทำให้มือและเท้าชาอ่อนแรง. มะแว้งเครือ หรือ มะแว้งต้น ใช้แก้ไอ ขับเสมหะผศ.ดร.สุนีย์ จันทร์สกาว ยังบอกต่ออีกว่า.ผู้ป่วยมะเร็งควรรับประทานผักพื้นบ้าน เช่น ผักที่มีแคลเซียมสูง ได้แก่ ใบชะพลู ผักแพว ใบยอ ผักกะเฉด ยอดแค สะเดา สะแล มะเขือพวง ขี้เหล็ก ใบเหลือง ผักแส้ว กระถิน ตำลึง ผักฮ้วน ผักที่มีเบต้าแคโรทีนสูง ได้แก่ ใบย่านาง ผักแพว ตำลึง ยอดแค ใบกะเพรา ผักแว่น ใบแมงลัก ชะอม ฟักทอง ผักที่มีธาตุเหล็กสูง ได้แก่ ผักกูด ขมิ้นขาว ผักแว่น ใบแมงลัก ใบกะเพรา ยอดมะกอก กระถิน ชะพลู ขี้เหล็ก ผักแขยง ผักที่มีวิตามินซีสูง ได้แก่ ดอกขี้เหล็ก ดอกและยอดผักฮ้วน มะรุม พริก ยอดสะเดา มะระขี้นก ผักหวาน ผักเชียงดา ผักขี้หูด ผักแพว รศ.พาณี ศิริสะอาด อาจารย์ผู้ร่วมโครงการ หนึ่งในทีมงานวิจัยสมุนไพรไทย กล่าวเพิ่มเติมว่า.การนำพืชผักมาให้ผู้ป่วยรับประทานได้อย่างเหมาะสมกับสภาพร่างกาย ก็เป็นวิธีการหนึ่งที่ควรใส่ใจ โดยเฉพาะผู้ป่วยมะเร็ง มักมีร่างกายซูบผอม เนื่องจากมีความรู้สึกหดหู่ ขาดกำลังใจ มีอาการอ่อนเพลีย รับประทานอาหารไม่ได้หรือเบื่ออาหาร ....จึงต้องปรับวิธีการปรุงอาหาร ทั้งการให้ผักสดปั่น ผักต้มปั่นและธัญพืชปั่น ซึ่งมีพืชผักหลายชนิดที่นำมาปั่นได้ เช่น มะเขือเทศ มะนาว ผักกาดหอม เมล็ดถั่ว เป็นต้น ซึ่งการปั่นจะทำให้ไม่ต้องเคี้ยวนาน ลดภาระการย่อย ทำให้ดูดซึมได้เร็วได้รับทั้งสารอาหาร สารต้านอนุมูลอิสระ และสรรพคุณด้านยา เมื่อผู้ป่วยมะเร็งแข็งแรงระดับหนึ่ง แล้วก็สามารถรับประทานอาหารพื้นบ้านรสไม่จัด ก็อยากจะแนะนำเสริมว่า ควรรับประทานอาหารที่ปราศจากเนื้อสัตว์ อย่างไรก็ตาม การใช้สมุนไพรและพืชผักพื้นบ้านเป็นทางเลือกเพื่อผู้ป่วยมะเร็ง ที่จะนำไปปรับใช้เพื่อลดอาการข้างเคียงและเสริมสร้างสุขภาพ ทั้งตัวผู้ป่วย ญาติหรือผู้ดูแล ซึ่งต้องมีความรู้ความเข้าใจเป็นสำคัญ. และที่ขาดไม่ได้คือ การให้ความรัก เอาใจใส่ ทำให้ มีกำลังใจ และ มีความสุข...ก็จะสามารถ ต่อสู้โรคร้าย ให้มีชีวิตอยู่ต่อไปได้อีกอย่างยาวนาน

ละหุ่ง

ละหุ่ง

ความหมายของสมุนไพร

สมุนไพร หมายถึง พืชที่มีสรรพคุณในการรักษาโรค หรืออาการเจ็บป่วยต่าง ๆ การใช้สมุนไพรสำหรับรักษาโรค หรืออาการเจ็บป่วยต่างๆ นี้ จะต้องนำเอาสมุนไพรตั้งแต่สองชนิดขึ้นไปมาผสมรวมกันซึ่งจะเรียกว่า "ยา" ในตำรับยา นอกจากพืชสมุนไพรแล้วยังอาจประกอบด้วยสัตว์และแร่ธาตุอีกด้วย เราเรียกพืช สัตว์ หรือแร่ธาตุที่เป็นส่วนประกอบของยานี้ว่า "เภสัชวัตถุ"พืชสมุนไพรบางชนิด เช่น เร่ว กระวาน กานพลู และจันทน์เทศ เป็นต้น เป็นพืชที่มีกลิ่นหอมและมีรสเผ็ดร้อน ใช้เป็นยาสำหรับขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ พืชเหล่านี้ถ้านำมาปรุงอาหารเราจะเรียกว่า "เครื่องเทศ" ในพระราชบัญญัติยาฉบับที่ 3 ปีพุทธศักราช 2522 ได้แบ่งยาที่ได้จากเภสัชวัตถุนี้ไว้เป็น 2 ประเภทคือ
1. ยาแผนโบราณ หมายถึง ยาที่ใช้ในการประกอบโรคศิลปะแผนโบราณหรือในการบำบัดโรคของสัตว์ ซึ่งมีปรากฏอยู่ในตำรายาแผนโบราณที่รัฐมนตรีประกาศ หรือยาที่รัฐมนตรีประกาศให้เป็นยาแผนโบราณ หรือได้รับอนุญาตให้ขึ้นทะเบียนตำรับยาเป็นยาแผนโบราณ
2. ยาสมุนไพร หมายถึงยาที่ได้จากพืชสัตว์แร่ธาตุที่ยังมิได้ผสมปรุงหรือแปรสภาพสมุนไพรนอกจากจะใช้เป็นยาแล้ว ยังใช้ประโยชน์เป็นอาหาร ใช้เตรียมเป็นเครื่องดื่ม ใช้เป็นอาหารเสริม เป็นส่วนประกอบในเครื่องสำอาง ใช้แต่งกลิ่น แต่งสีอาหารและยา ตลอดจนใช้เป็นยาฆ่าแมลงอีกด้วย ในทางตรงกันข้าม มีสมุนไพรจำนวนไม่น้อยที่มีพิษ ถ้าใช้ไม่ถูกวิธีหรือใช้เกินขนาดจะมีพิษถึงตายได้ ดังนั้นการใช้สมุนไพรจึงควรใช้ด้วยความระมัดระวังและใช้อย่างถูกต้อง ปัจจุบันมีการตื่นตัวในการนำสมุนไพรมาใช้พัฒนาประเทศมากขึ้น สมุนไพรเป็นส่วนหนึ่งในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุขได้ดำเนินโครงการ สมุนไพรกับสาธารณสุขมูลฐาน โดยเน้นการนำสมุนไพรมาใช้บำบัดรักษาโรคในสถานบริการสาธารณสุขของรัฐมากขึ้น และ ส่งเสริมให้ปลูกสมุนไพรเพื่อใช้ภายในหมู่บ้านเป็นการสนับสนุนให้มีการใช้สมุนไพรมากยิ่งขึ้น อันเป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยประเทศชาติประหยัดเงินตราในการสั่งซื้อยาสำเร็จรูปจากต่างประเทศได้ปีละเป็นจำนวนมาก

วันพฤหัสบดีที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2551

พริกไทดำ


ชื่อสามัญ / ชื่ออังกฤษ Pepper

ชื่อวิทยาศาสตร์ Piper nigrum Linn.

วงศ์ Piperraceae

ชื่ออื่น / ชื่อท้องถิ่น พริกน้อย (เหนือ) พริก (ใต้) พริกขี้นก พริกไทยดำ พริกไทยล่อน

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ พริกไทยเป็นไม้เถาเลื้อยยืนต้น ลำต้นมีข้อ ซึ่งบริเวณข้อใหญ่กว่าลำต้นจนเห็นได้ชัดเจน ลำต้นอ่อนมีสีเขียวและจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลตามอายุที่เพิ่มขึ้น รากของพริกไทยมีสองชนิด คือรากหาอาหารที่อยู่ใต้ดิน กับรากที่ทำหน้าที่ยึดลำต้นกับหลักซึ่งอาจจะเป็นไม้ยืนต้นอื่นหรือไม้ค้างเพื่อให้เลื้อยเติบโตต่อไปได้ใบของพริกไทยเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับตามข้อและตามกิ่ง ใบเป็นรูปไข่ โคนใบใหญ่ ใบกว้างประมาณ 6-10 ซ.ม. ยาว 7-14 ซ.ม. ลักษณะคล้ายใบพลู ผิวใบเรียบเป็นมัน ขนาดและลักษณะของใบจะแตกต่างกันไปตามพันธุ์ ออกดอกเป็นช่อในแนวยาวตรงข้ามกับใบ ช่อดอกแต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยประมาณ 70-85 ดอก ช่อดอกอ่อนมีสีเหลืองอมเขียว เมื่อแก่จะมีสีเขียวและปลายช่อห้อยลง ผลของพริกไทยมีลักษณะกลม เรียงตัวกันเป็นพวงอัดแน่นอยู่กับแกนช่อ มีรสเผ็ดร้อน ผลอ่อนมีสีเขียว ผลสุกจะมีสีส้มแดง ผลที่นำมาใช้มีสองชนิด คือ พริกไทยดำ และพริกไทยล่อน พริกไทยดำทำได้โดยเก็บผลที่โตเต็มที่มีสีเขียวแก่มาตากจนแห้ง ซึ่งจะได้พริกไทยสีดำเหี่ยว ส่วนพริกไทยล่อนคือการเก็บผลพริกไทยที่เริ่มสุกมาแช่น้ำแล้วนำมานวดเพื่อลอกเปลือกออก แล้วตากแดด จะได้ผลพริกไทยมีสีขาวเป็นเงา พันธุ์พริกไทยที่นิยมปลูกในประเทศไทยมี 6 พันธุ์ คือ พันธุ์ใบหนา พันธุ์ความยขวิด พันธุ์บ้านแก้ว พันธุ์ปรางถี่ธรรมดา พันธุ์ปรางถี่ใบหยิก พันธุ์คุชชิง

สรรพคุณ

1. เปลือกของพริกไทยมีน้ำย่อยสำหรับย่อยไขมัน ด้วยเหตุนี้ตำราโบราณจึงเชื่อกันว่าพริกไทยสามารถลดความอ้วนได้

2. พริกไทยช่วยกระตุ้นปุ่มรับรสที่ลิ้น เพื่อให้กระเพาะอาหารหลั่งน้ำย่อยได้มากขึ้น

3. พริกไทยดำมีรสเผ็ดอุ่น เมื่อรับประทานเข้าไปจะรู้สึกอุ่นวาบที่ท้อง ช่วยขับลม ขับเหงื่อ ขับปัสสาวะ แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้ไข้มาลาเรีย แก้อหิวาตกโรค

4. ใช้ก้านพริกไทย 10 ก้าน บดให้ละเอียดแล้วต้มกับน้ำ 8 แก้ว ใช้เป็นยาล้างแผลที่อัณฑะ

5. สารพิเพอรีนในพริกไทยสามารถใช้เป็นยาฆ่าแมลง ซึ่งไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์โดยนำผลพริกไทยมาทุบให้แตกแล้วใช้โรยบริเวณตู้เสื้อผ้าหรือบริเวณที่ต้องการ ส่วนที่ใช้ประกอบอาหาร ผลพริกไทยอ่อน และผลที่โตเต็มที่ วิธีใช้ในการประกอบอาหาร ใส่ผลพริกไทยอ่อนในผัดเผ็ด แกงป่า เพื่อดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์เช่น ผัดเผ็ดหมูป่า ผัดเผ็ดปลาดุก ส่วนพริกไทยดำและพริกไทยล่อนต่างก็ใช้เป็นเครื่องชูรสและแต่งกลิ่นอาหาร โดยใช้ทั้งแบบที่เป็นเม็ดเพื่อหมักเนื้อสัตว์ ใส่ในเครื่องพะโล้ และแบบที่เป็นผงใช้โรยหน้าอาหาร นอกจากนี้พริกไทยยังช่วยถนอมอาหารประเภทเนื้อสัตว์ ทำให้เก็บอาหารได้นานขึ้น

ข้อสังเกต / ข้อควรระวัง

1. ไม่ควรรับประทานพริกไทยมากเกินไป

2. ผู้ป่วยเกี่ยวกับโรคตาและเจ็บคอไม่ควรรับประทาน

3. พริกไทยดำจะมีสรรพคุณทางยามากกว่าพริกไทยล่อนโดยเฉพาะสรรพคุณที่นำมาประกอบเป็นยาอายุวัฒนะ

วันพฤหัสบดีที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2551



มะกรูด
Leech Lime, Kaffir LimeCitrus hystrix D.C.
วงศ์ :Rutaceae
ชื่อท้องถิ่น :มะขูด มะขุน ส้มกรูด ส้มมั่วผี
ลักษณะ :มะกรูดเป็นพืชที่ใช้เป็นเครื่องเทศมานานแล้ว โดยใช้ผิวของผลเป็นส่วนผสมในเครื่องแกงหลายชนิด ใช้เข้าเครื่องหอมโดยเป็นส่วนผสมในเทียนอบ ใบมะกรูดมีกลิ่นหอมใช้แต่งกลิ่นในอาหารคาวหลายชนิดเช่น ต้มยำ แกงเผ็ด น้ำมะกรูดใช้ปรุงอาหารเพื่อให้มีรสเปรี้ยวและดับกลิ่นคาวปลาคนโบราณนิยมสระผมด้วยน้ำมะกรูด เพราะช่วยให้ผมดำเป็นมันไม่แห้งกรอบ คนไทยนิยมปลูกมะกรูดไว้ตามบ้านและในสวน มะกรูดเป็นไม้พุ่มยืนต้นขนาดเล็ก ใบมีกลิ่นหอม ผลค่อนข้างกลม ผิวขรุขระมีปุ่มนูนและมีจุกที่หัวของผล
ส่วนที่ใช้ คือ ใบและผลสารสำคัญ ในใบและผลมะกรูด เมื่อนำมากลั่นด้วยไอน้ำจะให้น้ำมันหอมระเหยในปริมาณ 0.08 % และ4 % ตามลำดับ น้ำมันหอมระเหยจากผิวมะกรูดมักประกอบด้วยเบต้า-ไพนีน, ไลโมนีนและซาบินีน เป็นสารหลักส่วนน้ำมันหอมระเหยจากใบจะประกอบด้วย ซีโทรเนลลาล, ไอโซพูลิโกลและไลนาลูออล เป็นสารหลัก ส่วนในน้ำมะกรูดมีกรดซิตริก ไวตามินซีและกรดอินทรีย์ชนิดอื่น ๆ เป็นส่วนประกอบ

วันพุธที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ทับทิมแก้มะเร็ง


คณะนักวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียของสหรัฐฯ ยกย่องสรรพคุณของน้ำผลทับทิมคั้น ในทางบำรุงเลือดลมว่า ไม่แพ้ยา “ไวอากร้า” อันเป็นยาแก้อาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศของบุรุษ หน่วยงานวิจัยด้านมะเร็งนานาชาติ ซึ่งเป็นองค์กรในสังกัดขององค์การอนามัยโลก ประกาศจะขึ้นบัญชีการทำงานกลางคืน เทียบเท่ากับว่าเป็นสารก่อมะเร็ง การตัดสินใจดังกล่าวเกิดขึ้นบนพื้นฐานการทบทวนงานวิจัยหลายชิ้นที่พบอัตราการเป็นมะเร็ง ทรวงอก และมะเร็งต่อมลูกหมากมากขึ้นในหมู่ชายหญิงที่ทำงานตอนกลางคืน สมาคมโรคมะเร็งกล่าวว่า จะดำเนินตามคำวินิจฉัยนั้น แต่ยังคงพิจารณาว่าความเชื่อมโยง ของมะเร็งจากการทำงานยังอยู่ในขั้น “ไม่แน่นอน” หรือ “ยังไม่สามารถพิสูจน์ได้” เพราะอาจจะมีปัจจัยอื่นร่วมด้วยที่ทำให้เกิดปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเพิ่มขึ้น ในกลุ่มคนทำงานกะดึก เว็บไซต์ของสมาคมฯยังมีข้อสังเกตว่าสารก่อมะเร็งไม่เป็นเหตุ ให้เกิดมะเร็งเสมอไป ถ้าหากทฤษฎีการทำงานกลางคืนพิสูจน์ได้ในที่สุดว่าเป็นจริงนั้นจะทำให้คนเรือนล้านทั่วโลก ได้รับผลจากทฤษฎีนี้ โดยผู้เชี่ยวชาญคาดประมาณว่าเกือบ 20 เปอร์เซ็นต์ ของประชากรวัยทำงานในประเทศพัฒนาแล้วเป็นคนทำงานกะกลางคืน เหตุผลที่นักวิทยาศาสตร์คาดหมายถึงความเชื่อมโยงระหว่างการทำงานกะดึกกับการเกิดมะเร็ง เพราะว่ามันเข้าไปขัดจังหวะการทำงานของนาฬิกาชีวภาพในร่างกาย และฮอร์โมนเมลาโทนิน ซึ่งสามารถกดการเติบโตของก้อนเนื้อนั้น โดยปกติจะมีการผลิตขึ้นมาในเวลากลางคืน “การนอนไม่พอจะทำให้ระบบภูมิคุ้มโรคอ่อนแอถูกจู่โจมได้ง่ายและสามารถต่อสู้ กับเซลล์มะเร็งได้น้อยลง” มาร์ค รี ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยไลท์ รีเสิร์ช ที่สถาบันโพลีเทคนิคเรนส์เซลเลอร์ ในนิวยอร์ก กล่าว.


จันทน์กระพ้อ
Vatica diospyroides Syming DIPTEROCARPACEAE

ชื่ออื่น : เขี้ยวงูเขา จันทน์พ้อ รูปลักษณะไม้ยืนต้น สูง 6-15 เมตร ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปใบหอก หรือรูปใบหอกแกมขอบขนาน กว้าง 4-7 ซม. ยาว 15-20 ซม. ดอกช่อแยกแขนง ออกที่ซอกใบ กิ่งก้านและปลายกิ่ง ดอกย่อยจำนวนมาก กลีบดอกสีขาวนวล หรือสีเหลืองอ่อน มีกลิ่นหอมจัด ผลแห้ง รูปเกือบกลม สีน้ำตาล เปลือกแข็ง มีขนนุ่มละเอียด สีน้ำตาลสรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยาดอก - เข้ายาหอมแก้ลม บำรุงหัวใจ

วันอังคารที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2551

กลุ่ยาแก้บิด ท้องเดิน ท้องร่วง โรคกระเพาะ

โมกหลวง
ชื่อวิทยาศาสตร์
: Holarrhena pubescens Wall. ex G. Don
วงศ์ : APOCYNACEAE
ชื่ออื่น : ซอทึ, พอแก, ส่าตึ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน); พุด (กาญจนบุรี); พุทธรักษา (เพชรบุรี); มูกมันน้อย, มูกมันหลวง, มูกหลวง, โมกเขา, โมกทุ่ง, โมกหลวง (ภาคเหนือ); โมกใหญ่ (ภาคกลาง); ยางพูด (เลย); หนามเนื้อ (เงี้ยว-ภาคเหนือ)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 5-10 เมตร ทุกส่วนของต้นมีน้ำยางสีขาว ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม กว้าง 3.5-14 ซม. ยาว 7-30 ซม. ก้านใบยาว 0.4-1.2 ซม. แผ่นใบบางคล้ายกระดาษ รูปรีหรือขอบขนาน โคนใบป้านหรือรูปลิ่ม ปลายเรียวแหลม หรือเป็นติ่งแหลม ขอบเรียบ ผิวใบด้านบนและด้านล่างเป็นมัน เกลี้ยง หรือมีขนสั้นนุ่ม ดอกช่อแบบช่อกระจุก ดอกย่อยมีก้าน ดอกย่อยที่ด้านข้างเท่ากัน มีขนาดเล็กกว่าดอกย่อยที่ตรงกลางช่อ ช่อดอกยาว 4-14 ซม. ก้านช่อยาว 0.9-3.5 ซม. หรือไม่มีก้านช่อ ทุกส่วนเกลี้ยง หรือมีขนสั้นนุ่ม ดอกย่อยประกอบด้วย ก้านดอกย่อยสั้นมากหรือไม่มีก้าน ก้านดอกย่อย วงกลีบเลี้ยงเชื่อมติดกัน ปลายแยก 5 แฉก ปลายของแต่ลุแฉกแหลม วงกลีบดอกเชื่อมกันเป็นรูปดอกเข็ม ปลายแยก 5 แฉก กว้างประมาณ 0.4-0.8 ซม. ยาวประมาณ 0.7-2.3 ซม. สีขาว รูปขอบขนาน ปลายมน เกสรเพศจำนวน 5 อัน แยกกัน เกสรเพศเมีย 1 อัน อยู่เหนือวงกลีบ ผลแตกแนวเดียว รูปแถบเรียวยาว กว้างประมาณ 0.5 ซม. ยาว 37-45 ซม. ก้านผลยาว 1.6-2.5 ซม. เมล็ดจำนวนมาก มีปีกบางส่วนที่ใช้ : เปลือกต้น ใบ ผล เมล็ดใน กระพี้ แก่น ราก
สรรพคุณ :
เปลือกต้น - แก้บิด แก้ไข้พิษ
ใบ - ขับไส้เดือนในท้อง
ผล - ขับโลหิต
เมล็ดใน - แก้ไข้
กระพี้ - ฟอกโลหิต
แก่น - แก้โรคกลาก
ราก - ขับโลหิต
วิธีและประมาณที่ใช้ แก้บิด แก้ไข้พิษ
ใช้เปลือกต้นโมกหลวง ครึ่งกำมือ (6-10 กรัม) ผสมกับผลมะตูมแห้ง อย่างละเท่า ๆ กัน รวมกับเปลือกรากทับทิมครึ่งส่วน ตำให้เป็นผง ผสมน้ำผึ้ง ทำเป็นลูกกลอน รับประทานครั้งละ 1-2 กรัม (ของยาที่ผสมแล้ว) ประมาณ 3-5 เมล็ดพุทรา หรือใช้ต้มกับน้ำ 1 ถ้วยแก้ว รับประทานวันละ 2 ครั้ง

กันเกรา

กันเกรา
ชื่อวิทยาศาสตร์
: Fagraea fragrans Roxb.
วงศ์ : Gentianaceae
ชื่ออื่น : มันปลา (ภาคเหนือ,อีสาน) ตำเสา ทำเสา (ภาคใต้) ตะมะซู ตำมูซู (มลายู-ภาคใต้)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น สูง 10-15 เมตร เปลือกต้นเรียบ สีน้ำตาล พอต้นแก่จะแตกเป็นร่องลึกตามยาว ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกัน หนาแน่นที่ปลายกิ่ง รูปรี กว้าง 4+6 ซม. ยาว 8-12 ซม. ปลายใบและโคนใบแหลม ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ สีเขียวเข้มเป็นมัน เนื้อใบค่อนข้างเหนียว ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบ พอเริ่มบานเป็นสีขาว เมื่อบานเต็มที่เป็นสีเหลืองอมส้ม กลีบดอกโคนเชื่อมติดกันเป็นหลอดสั้น ปลายแยกเป็น 5 แฉก ปลายแฉกแหลม เกสรเพศผู้ยาวติดกับกลีบดอก เกสรเพศเมียยาวมี 1 อัน ผล รูปทรงกลม ผิวเรียบเป็นมัน ผลอ่อนสีเขียว พอสุกเป็นสีแดง เมล็ดเล็ก สีน้ำตาลไหม้ส่วนที่ใช้ : แก่น
สรรพคุณ : แก่น - รสมัน เฝื่อน ฝาดขม บำรุงไขมันในร่างกาย บำรุงธาตุ เป็นยาอายุวัฒนะ แก้ไข้จับสั่น แก้หืดไอ ริดสีดวง ท้องมานลงท้อง มูกเลือด แน่นหน้าอก บำรุงม้าม แก้เลือดพิการ ขับลม
มะลิลา
ชื่อวิทยาศาสตร์
: Jasminum Sambac (L.) Aiton
ชื่อสามัญ : Arabian jasmine
วงศ์ : OLEACEAE
ชื่ออื่น : มะลิ, มะลิลา (ทั่วไป), มะลิซ้อน (ภาคกลาง), มะลิขี้ไก่ (เชียงใหม่), มะลิหลวง (แม่ฮ่องสอน), มะลิป้อม (ภาคเหนือ), ข้าวแตก (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน), เตียมูน (ละว้า-เชียงใหม่)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นไม้พุ่ม บางพันธุ์เป็นไม้รอเลื้อย สูง 0.3-3 เมตร ใบเรียงตรงข้าม เป็นใบประกอบชนิดที่มีใบย่อย ใบเดี่ยว รูปไข่ กว้าง 3-6 ซม. ยาว 5-10 ซม. ดอกดอกเป็นช่อเล็ก ๆ มีทั้งดอกลาและดอกซ้อน ดอกสีขาว โคนดอกติดกันเป็นหลอด สีเขียวอมเหลือง ดอกกลางบานก่อน กลีบเลี้ยงแยกเป็นส่วน 7-10 ส่วน มีขนละเอียด ยาว 2 1/2-7 ซม. โคนกลีบดอกเชื่อมเป็นหลอด ยาว 7-15 มม. ส่วนปลายแยกเป็นส่วนรูปไข่ แกมรี สีขาว อาจมีสีม่วงด้านนอกหรือเมื่อดอกร่วงยาว 8-15 มม. ดอกอาจซ้อนหรือลา ผลสด (berry) สีดำ แต่ยังไม่พบใน กทม. ดอกมีกลิ่น หอม ออกดอกตลอดปี แต่ดอกมีน้อยในฤดูหนาว ส่วนที่ใช้ : ใบ ราก ดอกแก่
สรรพคุณ :
ใบ, ราก - ทำยาหยอดตา
ดอกแก่ - เข้ายาหอม แก้หืด บำรุงหัวใจ
ราก - ฝนรับประทาน แก้ร้อนใน, เสียดท้อง รักษาหลอดลมอักเสบ ขับประจำเดือน
ใบ - ตำให้ละเอียด ผสมกับน้ำมะพร้าวใหม่ๆ นำไปลนไฟ ทารักษาแผล ฝีพุพอง แก้ไข้ ขับน้ำนม
วิธีใช้ : ใช้ดอกแห้ง 1.5 - 3 กรัม ต้มน้ำหรือชงน้ำร้อนดื่มสารเคมี :
ดอก พบ benzyl alcohol, benzyl alcohol ester, jasmone, linalool, linalol ester
ใบ พบ jasminin sambacin